วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเกิด "นวัตกรรม"

การเกิด "นวัตกรรม"
การก่อเกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ในปัจจุบัน ล้วนมาจากการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา คือ
1. การรวมตัวของสื่อ ในระยะ พ.ศ. 2493 - 2502 (ทศวรรษที่ 1950s) สื่อส่วนมากจะมีลักษณะเป็นเอกเทศ และมีลักษณะการใช้งานในรูปแบบที่แยกจากกันหรือบางครั้งอาจมีการนำมาใช้ในลักษณะ "สื่อประสม" เช่น การใช้สิ่งพิมพ์ร่วมกับเทปเสียง
และเป็นที่คาดว่าในระยะ พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ถึงแม้ว่าสื่อเหล่านี้ จะยังคงมีลักษณะแยกได้เป็นเอกเทศเช่นเดิม แต่จะสามารถนำมารวมกันให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง และจะเป็นการยากที่จะแยกสื่อ ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อความออกจากกัน
เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในช่วง พ.ศ. 2523 - 2532 จึงมีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ ในลักษณะของสื่อประสมเชิงโต้ตอบ (Interactive multimedia) เช่น การใช้วิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้ CD-ROM ในการสอน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และการใช้ความจริงเสมือน การบรรจบกันของสื่อต่าง ๆ โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นตัวสื่อประสานหรือเป็นตัวเชื่อมโยงจึงมีบทบาทอย่างยิ่ง
2. สื่อขนาดเล็ก จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการคิดค้นและพัฒนาทำให้วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ มีขนาดเล็กลง และใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น ดังเช่น
1. กล้องถ่ายวิดีทัศน์ระบบดิจิตัล ที่มีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือแต่มีประสิทธิภาพสูง และสะดวกต่อการพกพา
2. กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตัลที่ใช้แผ่นดิสก์ในการบันทึกภาพ และสามารถต่อเชื่อมเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้ทันที
3. การผลิตแผ่น CD และ VCD ที่มีขนาดเล็ก ให้เสียงที่คมชัด สามารถบันทึกได้ทั้งเสียง ภาพ และข้อความ อีกทั้งยากแก่การชำรุด เสียหาย
4. การนำไมโครโพรเซสเซอร์มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง สามารถพกพาไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก และมีราคาถูก
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน นอกจากจะมีขนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานที่สูงกว่าเดิม สามารถบรรจุเนื้อหา ข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูก
4. ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม จานรับสัญญาณดาวเทียมที่มีขนาดเล็ก และเส้นใยนำแสงที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงในระบบดิจิตัลได้อย่างรวดเร็วและในระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างบ้านเรือน สถาบันการศึกษา ห้องสมุด สำนักงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) นับเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป และวงการ สถาบันต่าง ๆ เช่น การแพทย์ การกีฬา วัฒนธรรม การศึกษา เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่รวมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบโทรคมนาคมการสื่อสารความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล จึงสามารถประมวลผลข้อมูล จัดเก็บและบันทึกสารสนเทศ และส่งข้อมูลหรือผลลัพท์ที่ประมวลได้ไปยังผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ในวงการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทและสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ วิธีการ เช่น
- การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นการใช้โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้หรือฝึกอบรม
- สื่อประสม เป็นการใช้ระบบสื่อประสม ทั้งตัวอักษร ภาพ และเสียง ในการเรียนการสอน การฝึกอบรม - การประชุมทางไกลโดยวิดีทัศน์ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียนระหว่างสถาบันการศึกษา
- ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกแก่ผู้สอนและผู้เรียนในการสืบค้นระยะไกล และเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่นอกระบบการศึกษา หรือในระบบการศึกษาทางไกล
- ระบบสารสนเทศ เป็นรับ ประมวลผล และจัดการข้อมูลภายในสถาบันการศึกษา
- ระบบฐานข้อมูล เป็นระบบจัดการและเก็บรักษาฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลนักศึกษา วัสดุอุปกรณ์การศึกษา เป็นต้น
- ระบบข่ายงาน โดยการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เพื่อการเรียนการสอนและการสื่อสาร
6. อินเทอร์เน็ต และเวิลด์ไวด์เว็บ (Internet & World Wide Web : www) ข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมไปทั่วโลก ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลได้ทันทีที่ต้องการไม่ว่าจะอยู่แห่งใดในโลก โครงข่ายใยแมงมุมนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยในการค้นหาสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ตจะสร้างการเชื่อมโยงระหว่างแหล่งข้อมูลทั่วโลก ช่วยให้เราสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
7. ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) เป็นการนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เช่น เส้นใยนำแสง เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถรับข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทางด่วนสารสนเทศให้ประโยชน์อย่างเอนกนานับปการหลายด้าน เช่น
- ทำให้ทุกคนมีโรงเรียนที่ดี ครูที่มีความสามารถ และวิชาเรียนที่น่าสนใจสำหรับผู้เรียนทุกคน ไม่จำกัดวัยและสภาพ
- นำข้อมูลจากห้องสมุดทั่วโลกมาใช้ในการเรียนและการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว
- จัดประชุมทางไกลโดยเห็นภาพ และได้ยินเสียงของผู้เข้าประชุมทั่วโลกได้
- ใช้ในการรักษาทางไกล โดยแพทย์สามารถวินิจฉัย หรือให้คำปรึกษาได้จากภาพ และการได้ยินเสียงผู้ป่วย
- สามารถทำงานที่บ้านได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังที่ทำงาน
- สามารถซื้อสินค้า โอนเงินเข้าธนาคาร เล่นเกมส์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
8. การบันทึกความจำด้วยแสง (Optical memory) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดี
- รอมได้อย่างมากมายมหาศาล เช่น แผ่นซีดี
- รอม 1 แผ่น อาจจะบรรจุสารานุกรม หรือพจนานุกรมทั้งเล่ม หรือบรรจุหนังสืออ่านประกอบได้จำนวน 1,000 เล่ม ในราคาที่ถูก เก็บรักษาได้ง่าย ชำรุดเสียหายยาก อีกทั้งสะดวกในการพกพาไปใช้งานในสถาน

ที่มา : http://www.st.ac.th/av/inno_future.htm (24 กุมภาพันธ์2553)

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

เทคโนโลยี (Technology)

1.รากศัพท์เป็นภาษาลาตินว่า Texere แปลว่าการสานหรือการสร้าง

2. ศัพท์ภาษาอังกฤษ Techno แปลว่า วิธีการ Logy แปลว่า วิทยา.Technology หมายถึงศาสตร์แห่งวิธีการ3.ความหมายตามพจนานุกรม(พ.ศ.2525) หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับ ศิลปะในการ นำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ และอุตสาหกรรม

นวัตกรรม (Innovation)มาจากภาษาลาตินว่า Innovare = To renew or To Mdify ภาษาบาลีคำว่านวัตต+กรรม หมายถึงการกระทำหรือความคิดวิธีการใหม่ๆที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน

การเกิดนวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน คือ

1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่(invention)

2. มีการพัฒนาปรับปรุงโดยผ่านกระบวนการทดลองวิจัย(devellopment)

3. มีการนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริงแต่ยังไม่แพร่หลาย(innovation)

การยอมรับนวัตกรรมจากผลการวิจัยของ Roger ประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 5 ประเภท คือ

1. นวัตกร (Innovators) 2.5%

2. ผู้ยอมรับก่อนผู้อื่น (Early Adopter) 13.5%

3. กลุ่มใหญ่ยอมรับระยะต้น (Early Majority) 34%

4. กลุ่มใหญ่ยอมรับระยะหลัง (Late Majority)

5. กลุ่มล้าหลัง (Laggards) 16%

ทฤษฎีขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรมของ Roger & Shoemker

1. ขั้นการรับรู้ (Awareness)

2. ขั้นแสดงความสนใจ (Interest)

3. ขั้นการประเมินค่า (Evaluation)

4. ขั้นทดลอง (Trial)

5. ขั้นรับไปใช้ (Adoption)

6. ขั้นบูรณาการ (Integration)

เกณฑ์การพิจรณาสภาพนวัตกรรม

1. ต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน

2. การคิดค้นใช้วิธีระบบ (System Approach)

3. มีการทดลองวิจัยในคุณภาพ

4. ยังไม่แพร่หลาย หรือเป็นส่วนหนึ่งในระบบการปฏิบัติการตามปกติ

นวัตกรรมการศึกษา( Educational Innovation) หมายถึง วิธีการใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาในการศึกษา และเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษามาใช้

1. คุณภาพของผลผลิตการศึกษาไม่สามารถแข่งขันกับประชาคมโลกได้

2. โลกและสังคมเปลี่ยนไป

3. วิธีการเรียนรู้เปลี่ยนไป

4. อาชีพและวิธีการทำงานเปลี่ยนไป

5. ข้อมูลและวิธีการสื่อสารเปลี่ยนไป

6. เทคโนโลยีเปลี่ยนไป

7. ความก้าวหน้าทางวิทยาการก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และไม่ขาดสายทำให้คนต้องศึกษาตลอดชีวิต

8. การศึกษาที่ผ่านมาสร้างลักษณะของเด็กไทยไม่พึงประสงค์ดังนี้

- ไม่กล้าพูดแสดงความคิดเห็น แสดงออก

- ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

- ไม่รู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ

- ขาดน้ำใจ ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

- ไม่สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ เรียนเพื่อจำ สอบ เอาวุฒิบัตร

- ขาดจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย

9.วิธีการเรียนรู้ยังเน้นเนื้อหาเป็นสำคัญ

10. วิธีการสอนยังยึดครูเป็นสำคัญ

11. การวัดและประเมินผลยังขาดมาตรฐานและไม่วัดตามสภาพจริง (Authentic)

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาช่วยแก้ปัญหาการศึกษาได้อย่างไร

1. สร้างความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา

2. เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล

3. ขยายขอบข่ายการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น

4. ช่วยเพิ่มคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน

5. ทำให้การศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานวิทยาศาสตร์

ประเภทของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาแบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา

1. เครื่องมืออุปกรณ์ (Hardware)

2. วัสดุ (Software)

3. เทคนิควิธี (Technique)

แบ่งตามลักษณะการนำไปใช้

1. สื่อสิ่งพิมพ์

2. สื่อไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิค

3. สื่อกิจกรรม

4. สื่ออื่น ๆ แบ่งตามลักษณะประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ

Dr. Edgar Dale ได้เสนอกรวยประสบการณ์ไว้เมื่อปี 2489 (ค.ศ.1946) โดยเน้นว่า “ผู้เรียนจะได้ประโยชน์จากการใช้กิจกรรมการสอนที่เป็นนามธรรม ในการขยายสิ่งที่เขาได้สะสมมาจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดความหมายต่อสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้นไปอีก”

กรวยประสบการณ์(Cone of Experiences)
1. ประสบการณ์ตรงและมีจุดมุ่งหมาย

2. ประสบการณ์จำลอง

3. ประสบการณ์นาฎการณ์

4. การสาธิต

5. ทัศนศึกษา

6. นิทรรศการ

7. ภาพยนตร์ – TV

8. เทป วิทยุ ภาพนิ่ง

9. ทัศนสัญลักษณ์

10. วจนสัญลักษณ์

ที่มา :
http://edu.chandra.ac.th/programtechno/programtechno/elerntechno/SlidePae/nawatagram.htm(24 กุมภาพันธ์ 2553)

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความสำคัญของเทคโนโลยี

ความสำคัญของนวัตกรรม
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (อ้างถึงใน สุมิตา บุญวาส 2546 : 78)
นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน อาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่หรือเป็นของปัจจุบันที่เราทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น
สำนักงานการอุดมศึกษา (2546 : 2)
นวัตกรรม มี 6 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกลการสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่(ร่วมมือกัน)
4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี เช่น สไลด์ วีดีทัศน์ วิทยุ โทรทัศน์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ต (Web - based Instruction) หรือ e- learning
5. นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล ก่อนเรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อสอบ
6. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลอำนวย เดชชัยศรี (2544 : 141) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมมี 2 ลักษณะ
1. นวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม
2. นวัตกรรมที่เป็นนามธรรมอัจฉรา
ส้มเขียวหวาน (2549) นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน เพิ่งค้นพบขึ้น
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ผสมกับสิ่งเก่า คือการนำเอาสิ่งเก่าที่ไม่ได้รับความนิยมมาทำการปรับปรุงให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสุมิตา
บุญวาส (2546 : 78) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้นวัตกรรมเป็นการวิจัยหาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วน เทคโนโลยี คือ การนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชนืในการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีระบบอำนวย เดชชัยศรี (2544 : 141) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้นวัตกรรมเกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ๆที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ ส่วนเทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพอัจฉรา
ส้มเขียวหวาน (2006) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้
1. นวัตกรรมเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติ หรือการกระทำใหม่ๆจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับจนกลายเป็นแนวปฏิบัติ
2. นวัตกรรมอยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อยเพียงบางส่วนไม่แพร่หลายแต่เทคโนโลยีอยู่ในขั้นการนำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา
ที่มา : http://kohkoh789.blogspot.com/2010/02/blog-post_2979.html(22กุมภาพันธ์2553)

ความหมายของ เทคโนโลยี

เทคโนโลยี คือ
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น

เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา

การสำรวจอวกาศ
เทคโนโลยีที่เป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน
เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ

ล้อ เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณ
เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก
ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น
ที่มา : http://nhomphing2026.blogspot.com/search/label/http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5#.E0.B8.84.E0.B8.A7.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B8.AB.E0.B8.A1.E0.B8.B2.E0.B8.A2 (22กุมภาพันธ์2553)

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรม

ความหมาย และ องค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม
นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการ มาพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ หรือบริการใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาด ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์ จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ "การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม" หรือจะกล่าวง่ายๆ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์
ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จาก แนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรมเช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก และทฤษฎีที่รู้จักกันมาก ก็น่าจะเป็น Thoery of Disruptive Innovation ของ Prof. Clayton Christensen แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Diffusion of Innovation Theory ของ Prof. Everett Rogers ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี 1962
ทั้งนี้ความคิดและทฤษฎีเรื่องนวัตกรรมมีวิวัฒนาการมาอย่างน้อย 50 ปีแล้ว โดยในช่วงทศวรรษที่ 1950 บรรดานักวิชาการต่างมองว่า นวัตกรรมเป็นการพัฒนาอย่างหนึ่งที่แยกออกมาจากการศึกษาวิจัยต่างๆ แต่ในปัจจุบันนี้ นวัตกรรมไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผลลัพธ์ของการดำเนินงานของปัจเจกบุคคล หากแต่เป็นผลของกระบวนการ (process) ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหา (problem-solving process) ที่เกิดในองค์กร หรือ กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interactive process) ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้มีบทบาทสำคัญอื่นๆ มีได้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือเชิงพาณิชย์ หรือ กระบวนการเรียนรู้แบบแปรผัน (diversified learning process) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากปัจจัยแตกต่างกัน เช่น การเรียนรู้โดยการใช้ (learning by using) การเรียนรู้โดยการลงมือทำ (learning by doing) การเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยน (learning by sharing) ซึ่งมีได้ทั้งองค์ความรู้ภายในและภายนอกองค์กร ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการดูดซับความรู้ขององค์กร

เทคนิคการพัฒนานวัตกรรม
เทคนิคสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด ได้แก่ (ที่มา: คัดลอกมาจาก คิดไทยสไตล์โมเดิร์น ของ คุณดนัย เทียนพุฒ นสพ.บิซวีส)
เทคนิคแรก ซื้อเทคโนโลยีหรือแนวคิดใหม่จากองค์กรภายนอก อาจเป็นการติดต่อขอซื้อโดยตรง ในนวัตกรรมที่องค์กรนั้นคิดค้นขึ้นมาอยู่แล้ว หรือจะเป็นการติดต่อในลักษณะเอาท์ซอร์สเพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีตามลักษณะที่ต้องการ เทคนิคที่สอง การร่วมมือในรูปแบบต่างๆ กับองค์กรอื่นๆ (Partnering) เพื่อนำความรู้ ความสามารถและทรัพยากรจากองค์กรภายนอกเข้ามาใช้ในการพัฒนาร่วมกันกับบุคลากรของกิจการ เพื่อให้เกิดการผสมผสานจุดเด่นขององค์กรดังกล่าวเข้าด้วยกัน เช่น บริษัท Intel ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกาและอังกฤษ จัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อค้นคว้าและวิจัยพัฒนานวัตกรรมในสินค้าและบริการเทคนิคที่สาม การเข้าร่วมลงทุนและ/หรือเข้าซื้อกิจการ ในหน่วยงานเล็กที่มีศักยภาพสูง เพื่อนำจุดเด่นของหน่วยงานดังกล่าว เข้ามาใช้พัฒนาต่อไปในอนาคต เช่น Cisco ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้เสาะหาหน่วยงานเล็กๆ ที่มีจุดเด่นในเรื่องของความคล่องตัว และความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ เพื่อขอร่วมลงทุน หรืออาจเข้าซื้อกิจการ เพื่อนำจุดเด่นขององค์กรนั้นๆ มาต่อยอดธุรกิจโดยอัตโนมัติ รวมถึงผสมผสานจุดเด่นต่างๆ ของทั้งสองกิจการเข้าด้วยกัน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาและต้นทุนในการพัฒนาจุดเด่นดังกล่าวขึ้นเอง เทคนิคที่สี่ การจัดตั้งศูนย์กลางความรู้ (Knowledge Broker) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูล และแนวคิด (Idea) ใหม่ๆ ระหว่างกันในวงกว้าง เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เข้ามามีบทบาทในการสร้างไอเดียใหม่ๆ เช่น บริษัท Eli Lilly ได้จัดตั้งเว็บไซต์ www.innocentive.com ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และความคิดเห็นจากกลุ่มสาธารณชนทั่วโลก โดยบริษัทและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาตั้งคำถามและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ยาต่างๆ

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
ที่มา: http://learners.in.th/blog/amrawiwan09 (13 กุมภาพันธ์)

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร



โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


ความเป็นมา

เมื่อ 14 สิงหาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ณ พระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ให้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อทดลองและฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนกลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกป่าชายเลนชนิดต่างๆ ที่คลองบางกรายใหญ่และคลองบางกราน้อย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2537 และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมกับผู้กำกับการ 1 กองบังคับฝึกพิเศษ ในขณะนั้นให้ดำเนินการศึกษาและหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ชายเลนที่ปลูกไว้ให้อยู่รอดและให้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนต่อไปในพื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งสองแห่ง ที่บริเวณคลองบางกราใหญ๋ และคลองบางกราน้อยและเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541 ขณะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงจักรยานและทรงวิ่งออกกำลังพระวรกายบริเวณค่ายพระรามหกได้ทอดพระเนตรสภาพดิน และพื้นที่รกร้างที่มีคราบเกลือบนพื้นดินต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริ กับ ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะให้หาทางฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็นพื้นที่สีเขียว และมีความสวยงามตามธรรมชาติเพื่อใช้เป็นพื้นที่นันทนาการและเป็นพื้นที่สำหรับศึกษาระบบนิเวศนที่ได้ปรับตัวหลังจากมีการปรับปรุงพื้นที่แล้ว ปีพุทธศักราช 2546 เป็นปีพุทธศักราชแห่งมิ่งมงคลสมัยที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนศนูย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริและมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี ได้ร่วมกันจัดทำอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติเพื่อน้อมเกล้าถวายในศภวาระเป็นสิริมงคลยิ่งนี้ โดยมีแนวทางในการดำเนินการตามแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงานในบริเวณ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นแนวทางในการดำเนินงานในอุทยานเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ดังนั้นเมื่ออุทยานแห่งนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วจะเป็ฯสถานที่เผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชาสามารถในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศและป็นสถานที่ศึกษาความรู้ทางด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ตลอดจนเป็นสถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา และเชิงประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของประเทศไทยและของโลก ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นนาอุทยานว่า “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” และพระราชทานพระราชานุญาต ให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย “สธ” ประดับตราสัญลักษณ์ของอุทยานวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุุครบ 48 พรรษา ในปี 2546 2. เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชาสามรถของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในด้ารการอนุรักษ์์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ 3. เพื่อฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานชนิด 4. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา เชิงประวัติศาสตร์ และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 5.เพื่อพัฒนาที่ดินเสื่อมโทรมเป็ฯพื้นที่การเกษตรที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สาธิตให้ประชาชนและเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงสามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงพื้นที่การเกษตร 6. เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านการฝึกรมของกำลังพลตำรวจตระเวนชายแดน 7. เพื่อเป็นที่ศึกษาให้แก่ประชาชนในการกระตุ้น สร้างความคิด ความเข้าใจ และปลุกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศ พื้นที่ดำเนินการคือ เขตพระราชนิเวศมฤคทายวัน ในส่วนที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลครอบคลุมพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของค่ายพระรามหก และค่ายนเรศวร สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน รวมพื้นที่ประมาณ 2,600 ไร่ ในระยะแรกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้สนับสนุนให้ใช้พื้นที่ดำเนินการตามกิจกรรมของอุทยานฯ จำนวน 1,800 ไร่โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2543 ในลักษณะของโครงการต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานไว้ 4 ประการคือ 1. ฟื้นฟูและพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าบก ในพื้นที่ให้มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมและมีความหลากหลายทางชีวภาพ 2. บูรณะและอนุรักษ์หมู่อาคาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตลอดจนส่วนประกอบทางกายภาพ ในพื้นที่ให้คงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนเอกลักษณ์ในท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย 3. พัฒนาให้เป็นแหล่งสาธิต และถ่ายทอดความรู้ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและนานาชาติ 4. ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในระดับประเทศและนานาชาติ
กรอบแนวคิด
1. มุ่งดำเนินให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับแนวทางของศูนย์ศึกษาและพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2. กำหนดให้มีการค้นคว้าศึกษาวิจัยทางวิชาการในแขนงงานทุกสาขาของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. การดำเนินการในทุกวัตถุประสงค์ของโครงการจะมุ่งสู่ความเป็นสากลในระดับนานาชาติเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็ยังคงสามารถสะท้อนแนวทางตามพระราชดำริและเอกลักษณ์ตลอดจนภูมิปัญญาไทยได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืน
4.ในการนำเสนอสาระของแต่ละองค์ความรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่จะเน้นไปที่การรับรู้ได้สัมผัสได้ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความเคลื่อนไหวที่สามารถถ่ายทอดออกมาถึงจิตวิญญาณและนวคิดอย่างชัดเจนในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต
5. มู่เสนอและดำเนินการในรูปของการท่องเที่ยวและสันทนาการในทุกๆ กิจกรรมที่มีศักยภาพไดทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน


ที่มา : http://www.bpp.go.th/project/project_5.html(9กุมภาพันธ์2553)