วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร



โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


ความเป็นมา

เมื่อ 14 สิงหาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ณ พระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ให้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อทดลองและฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนกลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกป่าชายเลนชนิดต่างๆ ที่คลองบางกรายใหญ่และคลองบางกราน้อย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2537 และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมกับผู้กำกับการ 1 กองบังคับฝึกพิเศษ ในขณะนั้นให้ดำเนินการศึกษาและหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ชายเลนที่ปลูกไว้ให้อยู่รอดและให้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนต่อไปในพื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งสองแห่ง ที่บริเวณคลองบางกราใหญ๋ และคลองบางกราน้อยและเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541 ขณะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงจักรยานและทรงวิ่งออกกำลังพระวรกายบริเวณค่ายพระรามหกได้ทอดพระเนตรสภาพดิน และพื้นที่รกร้างที่มีคราบเกลือบนพื้นดินต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริ กับ ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะให้หาทางฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็นพื้นที่สีเขียว และมีความสวยงามตามธรรมชาติเพื่อใช้เป็นพื้นที่นันทนาการและเป็นพื้นที่สำหรับศึกษาระบบนิเวศนที่ได้ปรับตัวหลังจากมีการปรับปรุงพื้นที่แล้ว ปีพุทธศักราช 2546 เป็นปีพุทธศักราชแห่งมิ่งมงคลสมัยที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนศนูย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริและมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี ได้ร่วมกันจัดทำอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติเพื่อน้อมเกล้าถวายในศภวาระเป็นสิริมงคลยิ่งนี้ โดยมีแนวทางในการดำเนินการตามแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงานในบริเวณ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นแนวทางในการดำเนินงานในอุทยานเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ดังนั้นเมื่ออุทยานแห่งนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วจะเป็ฯสถานที่เผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชาสามารถในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศและป็นสถานที่ศึกษาความรู้ทางด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ตลอดจนเป็นสถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา และเชิงประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของประเทศไทยและของโลก ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นนาอุทยานว่า “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” และพระราชทานพระราชานุญาต ให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย “สธ” ประดับตราสัญลักษณ์ของอุทยานวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุุครบ 48 พรรษา ในปี 2546 2. เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชาสามรถของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในด้ารการอนุรักษ์์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ 3. เพื่อฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานชนิด 4. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา เชิงประวัติศาสตร์ และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 5.เพื่อพัฒนาที่ดินเสื่อมโทรมเป็ฯพื้นที่การเกษตรที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สาธิตให้ประชาชนและเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงสามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงพื้นที่การเกษตร 6. เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านการฝึกรมของกำลังพลตำรวจตระเวนชายแดน 7. เพื่อเป็นที่ศึกษาให้แก่ประชาชนในการกระตุ้น สร้างความคิด ความเข้าใจ และปลุกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศ พื้นที่ดำเนินการคือ เขตพระราชนิเวศมฤคทายวัน ในส่วนที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลครอบคลุมพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของค่ายพระรามหก และค่ายนเรศวร สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน รวมพื้นที่ประมาณ 2,600 ไร่ ในระยะแรกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้สนับสนุนให้ใช้พื้นที่ดำเนินการตามกิจกรรมของอุทยานฯ จำนวน 1,800 ไร่โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2543 ในลักษณะของโครงการต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานไว้ 4 ประการคือ 1. ฟื้นฟูและพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าบก ในพื้นที่ให้มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมและมีความหลากหลายทางชีวภาพ 2. บูรณะและอนุรักษ์หมู่อาคาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตลอดจนส่วนประกอบทางกายภาพ ในพื้นที่ให้คงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนเอกลักษณ์ในท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย 3. พัฒนาให้เป็นแหล่งสาธิต และถ่ายทอดความรู้ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและนานาชาติ 4. ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในระดับประเทศและนานาชาติ
กรอบแนวคิด
1. มุ่งดำเนินให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับแนวทางของศูนย์ศึกษาและพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2. กำหนดให้มีการค้นคว้าศึกษาวิจัยทางวิชาการในแขนงงานทุกสาขาของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. การดำเนินการในทุกวัตถุประสงค์ของโครงการจะมุ่งสู่ความเป็นสากลในระดับนานาชาติเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็ยังคงสามารถสะท้อนแนวทางตามพระราชดำริและเอกลักษณ์ตลอดจนภูมิปัญญาไทยได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืน
4.ในการนำเสนอสาระของแต่ละองค์ความรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่จะเน้นไปที่การรับรู้ได้สัมผัสได้ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความเคลื่อนไหวที่สามารถถ่ายทอดออกมาถึงจิตวิญญาณและนวคิดอย่างชัดเจนในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต
5. มู่เสนอและดำเนินการในรูปของการท่องเที่ยวและสันทนาการในทุกๆ กิจกรรมที่มีศักยภาพไดทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน


ที่มา : http://www.bpp.go.th/project/project_5.html(9กุมภาพันธ์2553)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น