วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

เทคโนโลยี (Technology)

1.รากศัพท์เป็นภาษาลาตินว่า Texere แปลว่าการสานหรือการสร้าง

2. ศัพท์ภาษาอังกฤษ Techno แปลว่า วิธีการ Logy แปลว่า วิทยา.Technology หมายถึงศาสตร์แห่งวิธีการ3.ความหมายตามพจนานุกรม(พ.ศ.2525) หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับ ศิลปะในการ นำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ และอุตสาหกรรม

นวัตกรรม (Innovation)มาจากภาษาลาตินว่า Innovare = To renew or To Mdify ภาษาบาลีคำว่านวัตต+กรรม หมายถึงการกระทำหรือความคิดวิธีการใหม่ๆที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน

การเกิดนวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน คือ

1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่(invention)

2. มีการพัฒนาปรับปรุงโดยผ่านกระบวนการทดลองวิจัย(devellopment)

3. มีการนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริงแต่ยังไม่แพร่หลาย(innovation)

การยอมรับนวัตกรรมจากผลการวิจัยของ Roger ประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 5 ประเภท คือ

1. นวัตกร (Innovators) 2.5%

2. ผู้ยอมรับก่อนผู้อื่น (Early Adopter) 13.5%

3. กลุ่มใหญ่ยอมรับระยะต้น (Early Majority) 34%

4. กลุ่มใหญ่ยอมรับระยะหลัง (Late Majority)

5. กลุ่มล้าหลัง (Laggards) 16%

ทฤษฎีขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรมของ Roger & Shoemker

1. ขั้นการรับรู้ (Awareness)

2. ขั้นแสดงความสนใจ (Interest)

3. ขั้นการประเมินค่า (Evaluation)

4. ขั้นทดลอง (Trial)

5. ขั้นรับไปใช้ (Adoption)

6. ขั้นบูรณาการ (Integration)

เกณฑ์การพิจรณาสภาพนวัตกรรม

1. ต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน

2. การคิดค้นใช้วิธีระบบ (System Approach)

3. มีการทดลองวิจัยในคุณภาพ

4. ยังไม่แพร่หลาย หรือเป็นส่วนหนึ่งในระบบการปฏิบัติการตามปกติ

นวัตกรรมการศึกษา( Educational Innovation) หมายถึง วิธีการใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาในการศึกษา และเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษามาใช้

1. คุณภาพของผลผลิตการศึกษาไม่สามารถแข่งขันกับประชาคมโลกได้

2. โลกและสังคมเปลี่ยนไป

3. วิธีการเรียนรู้เปลี่ยนไป

4. อาชีพและวิธีการทำงานเปลี่ยนไป

5. ข้อมูลและวิธีการสื่อสารเปลี่ยนไป

6. เทคโนโลยีเปลี่ยนไป

7. ความก้าวหน้าทางวิทยาการก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และไม่ขาดสายทำให้คนต้องศึกษาตลอดชีวิต

8. การศึกษาที่ผ่านมาสร้างลักษณะของเด็กไทยไม่พึงประสงค์ดังนี้

- ไม่กล้าพูดแสดงความคิดเห็น แสดงออก

- ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

- ไม่รู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ

- ขาดน้ำใจ ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

- ไม่สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ เรียนเพื่อจำ สอบ เอาวุฒิบัตร

- ขาดจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย

9.วิธีการเรียนรู้ยังเน้นเนื้อหาเป็นสำคัญ

10. วิธีการสอนยังยึดครูเป็นสำคัญ

11. การวัดและประเมินผลยังขาดมาตรฐานและไม่วัดตามสภาพจริง (Authentic)

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาช่วยแก้ปัญหาการศึกษาได้อย่างไร

1. สร้างความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา

2. เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล

3. ขยายขอบข่ายการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น

4. ช่วยเพิ่มคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน

5. ทำให้การศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานวิทยาศาสตร์

ประเภทของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาแบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา

1. เครื่องมืออุปกรณ์ (Hardware)

2. วัสดุ (Software)

3. เทคนิควิธี (Technique)

แบ่งตามลักษณะการนำไปใช้

1. สื่อสิ่งพิมพ์

2. สื่อไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิค

3. สื่อกิจกรรม

4. สื่ออื่น ๆ แบ่งตามลักษณะประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ

Dr. Edgar Dale ได้เสนอกรวยประสบการณ์ไว้เมื่อปี 2489 (ค.ศ.1946) โดยเน้นว่า “ผู้เรียนจะได้ประโยชน์จากการใช้กิจกรรมการสอนที่เป็นนามธรรม ในการขยายสิ่งที่เขาได้สะสมมาจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดความหมายต่อสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้นไปอีก”

กรวยประสบการณ์(Cone of Experiences)
1. ประสบการณ์ตรงและมีจุดมุ่งหมาย

2. ประสบการณ์จำลอง

3. ประสบการณ์นาฎการณ์

4. การสาธิต

5. ทัศนศึกษา

6. นิทรรศการ

7. ภาพยนตร์ – TV

8. เทป วิทยุ ภาพนิ่ง

9. ทัศนสัญลักษณ์

10. วจนสัญลักษณ์

ที่มา :
http://edu.chandra.ac.th/programtechno/programtechno/elerntechno/SlidePae/nawatagram.htm(24 กุมภาพันธ์ 2553)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น