วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ

โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ( Olea europaea L. )


ความเป็นมา
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
มะกอกโอลีฟมีถิ่นฐานเดิมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ประเทศบอลข่าน, ทะเลเดรียติค จนถึงแถบที่ราบสูงในอิหร่าน ปาเรสไตน์ จนถึงแถบชายฝั่งของซีเรีย ต่อมาได้กระจายมาถึง Chipre * ต่อไปทาง Anatolio * ผ่าน Crete* ไปถึงอียิปต์ จนกระทั่งกระจายไปบริเวณลุ่มน้ำที่ติดกับชาบฝั่งของทะเลเมอดิเตอร์เรเนียนและจากการค้นพบทวีปอเมริกา การปลูกมะกอกโอลีฟจึงได้แพร่ออกไปสู่โลกใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปลูกในแถบอเมริกใต้,จีน,ญี่ปุ่น และออสเตรเลียอีกด้วย มะกอกโอลีฟเป็นพืชอาหารที่สำคัญและมีคุณค่าชนิดหนึ่งในเขตเมดิเตอร์เรเนียนมาตั้งแต่อดีต ส่วนต่างๆของต้นมะกอกโอลีฟสามารถนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ส่วนผลซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ใช้ประกอบอาหารและ ผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งน้ำมันมะกอกโอลีฟถือว่าเป็นน้ำมันที่ทางการแพทย์แนะนำให้บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีเนื่องจากมีไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าน้ำมันที่ผลิตจากพืชอื่นๆอีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันมะกอกโอลีฟมาใช้เป็นส่วนผสมใน การผลิตสบู่และน้ำมันนวดด้วยส่วนใบมะกอกโอลีฟใช้ในการปรุงอาหารและใช้บำบัดรักษาทางการแพทย์ ในขณะที่ส่วนเนื้อไม้ของกิ่งก้านและลำต้น ใช้นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ พื้นที่ที่นิยมปลูกมะกอกโอลีฟโดยมากจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นรุ้งที่ 30 องศา ถึง 45 องศา เป็นได้ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่สภาพภูมิอากาศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่ร้อนและแห้ง

จากข้อมูลของกลุ่มผู้ที่ปลูกมะกอกโอลีฟในเชิงธุรกิจประมาณได้ว่า ปัจจุบัน มีมะกอกโอลีฟอยู่ราวๆ 820 ล้านต้น ซึ่งในจำนวนนี้ 808 ล้านต้น หรือประมาณ 99% ของทั้งหมด ปลูกอยู่ในกลุ่มลุ่มแม่น้ำบริเวณทะเลเมอดิเตอร์เรเนียน คิดเป็นพื้นที่ 8.2 ล้าน hectares ผลผลิตของมะกอกโอลีฟถ้าคิดในช่วงเวลาครึ่งปีสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 10 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้ 90 % จะนำไป สกัดน้ำมันและอีก 10 % จะนำไปทำมะกอกดอง มะกอกโอลีฟสามารถแบ่งประเภทตามการใช้ประโยชน์ดังนี้
1. เพื่อการผลิตน้ำมัน ได้แก่พันธ์ Picual ,Piccudo ,Arbequina ,Cornicabra เป็นต้น
2. เพื่อรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Manzanilla ,Gordal ,cacerena เป็นต้น
3. เพื่อผลิตน้ำมันและรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Hojiblanca ,Pico Limon เป็นต้น

* ชื่อประเทศที่เป็นเกาะอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ลักษณะทางพฤกศาสตร์

ชื่อพื้นเมือง มะกอกโอลีฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Olea europaea L. OLEACEAE
ชื่อสามัญ Olive
ลักษณะ ไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นอาจสูงถึง 20 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม กัน รูปใบหอก กว้าง 1- 1.5 ซ.ม. ยาว 5 – 6 ซ.ม. ปลายใบแหลมหรือมนแคบ มีติ่งเล็กๆ โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ย่ว 3 -4 มิลลิเมตร ผิวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้าน ล่างสีเทา ดอดช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอดฝอยมีทั้งดอดสมบูรณ์แพศและ ดอกสมบูรณืเพศ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบ ดอกมีสีขาว หรือครีม เกสรตัวผู้ 2 อัน ขนาดใหญ่ที่กลีบดอก อับเรณูสีเหลืองมีลักษณะเป็น 2 พู รังไข่มี 2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียตรงสั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียค่อนข้างใหญ่ ผลสดมีเนื้อ รูปร่างกลมรี ยาว 1 – 4 ซ.ม. กว้าง 0.6 – 2 ซ.ม. สีผลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีม่วงหรือสีดำ มีเมล็ดแข็ง ประโยชน์ เนื้อไม้ นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะสลักและเฟอร์นิเจอร์ ใบช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด, พุพอง,อาการเหงือกอักเสบ และใช้ในการห้ามเลือด ผลใช้ประกอบอาหารและทำผลิตภัณฑ์น้ำมัน ป้องกันอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกสันหลังการเจริญเติบโตในแถบเมดิเตอร์เรเนียน พ.ย. – ก.พ. เป็นระยะพักตัวระหว่างช่วงภูมิอากาศหนาว มี.ค. – เม.ย. มะกอกโอลีฟจะเริ่มแตกตาดอกและยอดใหม่ พ.ค. – มิ.ย. ตาดอกจะพัฒนาและเริ่มออกดอก ก.ค. – ส.ค. ผลมะกอกโอลีฟเจริญขึ้นภายหลังกายผสมเกสรเมล็ดที่อยู่ภายใน ผลเจริญเต็มที่ ต.ค. เนื้อของผลมะกอกโอลีฟจะเจริญสมบูรณ์เต็มที่ระยะเวลาการสุกแก่ของผลมะกอกโอลีฟจะแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธ์ ช่วงกลางเดือน ส.ค. – ต.ค. สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลมะกอกโอลีฟขอลพันธ์ที่สุกแก่ เร็วหรือพันธ์เบาและผลมะกอกโอลีฟที่ใช้เพื่อรับประทานผลเขียว ช่วงกลางเดือนพ.ย. – ก.พ. เริ่มเก็บเกี่ยงผลผลิตมะกอกโอลีฟเพื่อรับประทานผลดำหรือผลแก่และ ที่ใช้เพื่อการผลิตน้ำมันมะกอกโอลีฟ
ที่มา : http://www.bpp.go.th/project/project_6.html (9กุมภาพันธ์2553)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น