วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเกิด "นวัตกรรม"

การเกิด "นวัตกรรม"
การก่อเกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ในปัจจุบัน ล้วนมาจากการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา คือ
1. การรวมตัวของสื่อ ในระยะ พ.ศ. 2493 - 2502 (ทศวรรษที่ 1950s) สื่อส่วนมากจะมีลักษณะเป็นเอกเทศ และมีลักษณะการใช้งานในรูปแบบที่แยกจากกันหรือบางครั้งอาจมีการนำมาใช้ในลักษณะ "สื่อประสม" เช่น การใช้สิ่งพิมพ์ร่วมกับเทปเสียง
และเป็นที่คาดว่าในระยะ พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ถึงแม้ว่าสื่อเหล่านี้ จะยังคงมีลักษณะแยกได้เป็นเอกเทศเช่นเดิม แต่จะสามารถนำมารวมกันให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง และจะเป็นการยากที่จะแยกสื่อ ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อความออกจากกัน
เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในช่วง พ.ศ. 2523 - 2532 จึงมีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ ในลักษณะของสื่อประสมเชิงโต้ตอบ (Interactive multimedia) เช่น การใช้วิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้ CD-ROM ในการสอน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และการใช้ความจริงเสมือน การบรรจบกันของสื่อต่าง ๆ โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นตัวสื่อประสานหรือเป็นตัวเชื่อมโยงจึงมีบทบาทอย่างยิ่ง
2. สื่อขนาดเล็ก จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการคิดค้นและพัฒนาทำให้วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ มีขนาดเล็กลง และใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น ดังเช่น
1. กล้องถ่ายวิดีทัศน์ระบบดิจิตัล ที่มีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือแต่มีประสิทธิภาพสูง และสะดวกต่อการพกพา
2. กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตัลที่ใช้แผ่นดิสก์ในการบันทึกภาพ และสามารถต่อเชื่อมเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้ทันที
3. การผลิตแผ่น CD และ VCD ที่มีขนาดเล็ก ให้เสียงที่คมชัด สามารถบันทึกได้ทั้งเสียง ภาพ และข้อความ อีกทั้งยากแก่การชำรุด เสียหาย
4. การนำไมโครโพรเซสเซอร์มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง สามารถพกพาไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก และมีราคาถูก
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน นอกจากจะมีขนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานที่สูงกว่าเดิม สามารถบรรจุเนื้อหา ข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูก
4. ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม จานรับสัญญาณดาวเทียมที่มีขนาดเล็ก และเส้นใยนำแสงที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงในระบบดิจิตัลได้อย่างรวดเร็วและในระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างบ้านเรือน สถาบันการศึกษา ห้องสมุด สำนักงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) นับเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป และวงการ สถาบันต่าง ๆ เช่น การแพทย์ การกีฬา วัฒนธรรม การศึกษา เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่รวมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบโทรคมนาคมการสื่อสารความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล จึงสามารถประมวลผลข้อมูล จัดเก็บและบันทึกสารสนเทศ และส่งข้อมูลหรือผลลัพท์ที่ประมวลได้ไปยังผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ในวงการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทและสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ วิธีการ เช่น
- การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นการใช้โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้หรือฝึกอบรม
- สื่อประสม เป็นการใช้ระบบสื่อประสม ทั้งตัวอักษร ภาพ และเสียง ในการเรียนการสอน การฝึกอบรม - การประชุมทางไกลโดยวิดีทัศน์ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียนระหว่างสถาบันการศึกษา
- ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกแก่ผู้สอนและผู้เรียนในการสืบค้นระยะไกล และเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่นอกระบบการศึกษา หรือในระบบการศึกษาทางไกล
- ระบบสารสนเทศ เป็นรับ ประมวลผล และจัดการข้อมูลภายในสถาบันการศึกษา
- ระบบฐานข้อมูล เป็นระบบจัดการและเก็บรักษาฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลนักศึกษา วัสดุอุปกรณ์การศึกษา เป็นต้น
- ระบบข่ายงาน โดยการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เพื่อการเรียนการสอนและการสื่อสาร
6. อินเทอร์เน็ต และเวิลด์ไวด์เว็บ (Internet & World Wide Web : www) ข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมไปทั่วโลก ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลได้ทันทีที่ต้องการไม่ว่าจะอยู่แห่งใดในโลก โครงข่ายใยแมงมุมนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยในการค้นหาสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ตจะสร้างการเชื่อมโยงระหว่างแหล่งข้อมูลทั่วโลก ช่วยให้เราสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
7. ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) เป็นการนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เช่น เส้นใยนำแสง เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถรับข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทางด่วนสารสนเทศให้ประโยชน์อย่างเอนกนานับปการหลายด้าน เช่น
- ทำให้ทุกคนมีโรงเรียนที่ดี ครูที่มีความสามารถ และวิชาเรียนที่น่าสนใจสำหรับผู้เรียนทุกคน ไม่จำกัดวัยและสภาพ
- นำข้อมูลจากห้องสมุดทั่วโลกมาใช้ในการเรียนและการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว
- จัดประชุมทางไกลโดยเห็นภาพ และได้ยินเสียงของผู้เข้าประชุมทั่วโลกได้
- ใช้ในการรักษาทางไกล โดยแพทย์สามารถวินิจฉัย หรือให้คำปรึกษาได้จากภาพ และการได้ยินเสียงผู้ป่วย
- สามารถทำงานที่บ้านได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังที่ทำงาน
- สามารถซื้อสินค้า โอนเงินเข้าธนาคาร เล่นเกมส์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
8. การบันทึกความจำด้วยแสง (Optical memory) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดี
- รอมได้อย่างมากมายมหาศาล เช่น แผ่นซีดี
- รอม 1 แผ่น อาจจะบรรจุสารานุกรม หรือพจนานุกรมทั้งเล่ม หรือบรรจุหนังสืออ่านประกอบได้จำนวน 1,000 เล่ม ในราคาที่ถูก เก็บรักษาได้ง่าย ชำรุดเสียหายยาก อีกทั้งสะดวกในการพกพาไปใช้งานในสถาน

ที่มา : http://www.st.ac.th/av/inno_future.htm (24 กุมภาพันธ์2553)

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

เทคโนโลยี (Technology)

1.รากศัพท์เป็นภาษาลาตินว่า Texere แปลว่าการสานหรือการสร้าง

2. ศัพท์ภาษาอังกฤษ Techno แปลว่า วิธีการ Logy แปลว่า วิทยา.Technology หมายถึงศาสตร์แห่งวิธีการ3.ความหมายตามพจนานุกรม(พ.ศ.2525) หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับ ศิลปะในการ นำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ และอุตสาหกรรม

นวัตกรรม (Innovation)มาจากภาษาลาตินว่า Innovare = To renew or To Mdify ภาษาบาลีคำว่านวัตต+กรรม หมายถึงการกระทำหรือความคิดวิธีการใหม่ๆที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน

การเกิดนวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน คือ

1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่(invention)

2. มีการพัฒนาปรับปรุงโดยผ่านกระบวนการทดลองวิจัย(devellopment)

3. มีการนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริงแต่ยังไม่แพร่หลาย(innovation)

การยอมรับนวัตกรรมจากผลการวิจัยของ Roger ประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 5 ประเภท คือ

1. นวัตกร (Innovators) 2.5%

2. ผู้ยอมรับก่อนผู้อื่น (Early Adopter) 13.5%

3. กลุ่มใหญ่ยอมรับระยะต้น (Early Majority) 34%

4. กลุ่มใหญ่ยอมรับระยะหลัง (Late Majority)

5. กลุ่มล้าหลัง (Laggards) 16%

ทฤษฎีขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรมของ Roger & Shoemker

1. ขั้นการรับรู้ (Awareness)

2. ขั้นแสดงความสนใจ (Interest)

3. ขั้นการประเมินค่า (Evaluation)

4. ขั้นทดลอง (Trial)

5. ขั้นรับไปใช้ (Adoption)

6. ขั้นบูรณาการ (Integration)

เกณฑ์การพิจรณาสภาพนวัตกรรม

1. ต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน

2. การคิดค้นใช้วิธีระบบ (System Approach)

3. มีการทดลองวิจัยในคุณภาพ

4. ยังไม่แพร่หลาย หรือเป็นส่วนหนึ่งในระบบการปฏิบัติการตามปกติ

นวัตกรรมการศึกษา( Educational Innovation) หมายถึง วิธีการใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาในการศึกษา และเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษามาใช้

1. คุณภาพของผลผลิตการศึกษาไม่สามารถแข่งขันกับประชาคมโลกได้

2. โลกและสังคมเปลี่ยนไป

3. วิธีการเรียนรู้เปลี่ยนไป

4. อาชีพและวิธีการทำงานเปลี่ยนไป

5. ข้อมูลและวิธีการสื่อสารเปลี่ยนไป

6. เทคโนโลยีเปลี่ยนไป

7. ความก้าวหน้าทางวิทยาการก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และไม่ขาดสายทำให้คนต้องศึกษาตลอดชีวิต

8. การศึกษาที่ผ่านมาสร้างลักษณะของเด็กไทยไม่พึงประสงค์ดังนี้

- ไม่กล้าพูดแสดงความคิดเห็น แสดงออก

- ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

- ไม่รู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ

- ขาดน้ำใจ ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

- ไม่สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ เรียนเพื่อจำ สอบ เอาวุฒิบัตร

- ขาดจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย

9.วิธีการเรียนรู้ยังเน้นเนื้อหาเป็นสำคัญ

10. วิธีการสอนยังยึดครูเป็นสำคัญ

11. การวัดและประเมินผลยังขาดมาตรฐานและไม่วัดตามสภาพจริง (Authentic)

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาช่วยแก้ปัญหาการศึกษาได้อย่างไร

1. สร้างความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา

2. เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล

3. ขยายขอบข่ายการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น

4. ช่วยเพิ่มคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน

5. ทำให้การศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานวิทยาศาสตร์

ประเภทของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาแบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา

1. เครื่องมืออุปกรณ์ (Hardware)

2. วัสดุ (Software)

3. เทคนิควิธี (Technique)

แบ่งตามลักษณะการนำไปใช้

1. สื่อสิ่งพิมพ์

2. สื่อไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิค

3. สื่อกิจกรรม

4. สื่ออื่น ๆ แบ่งตามลักษณะประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ

Dr. Edgar Dale ได้เสนอกรวยประสบการณ์ไว้เมื่อปี 2489 (ค.ศ.1946) โดยเน้นว่า “ผู้เรียนจะได้ประโยชน์จากการใช้กิจกรรมการสอนที่เป็นนามธรรม ในการขยายสิ่งที่เขาได้สะสมมาจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดความหมายต่อสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้นไปอีก”

กรวยประสบการณ์(Cone of Experiences)
1. ประสบการณ์ตรงและมีจุดมุ่งหมาย

2. ประสบการณ์จำลอง

3. ประสบการณ์นาฎการณ์

4. การสาธิต

5. ทัศนศึกษา

6. นิทรรศการ

7. ภาพยนตร์ – TV

8. เทป วิทยุ ภาพนิ่ง

9. ทัศนสัญลักษณ์

10. วจนสัญลักษณ์

ที่มา :
http://edu.chandra.ac.th/programtechno/programtechno/elerntechno/SlidePae/nawatagram.htm(24 กุมภาพันธ์ 2553)

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความสำคัญของเทคโนโลยี

ความสำคัญของนวัตกรรม
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (อ้างถึงใน สุมิตา บุญวาส 2546 : 78)
นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน อาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่หรือเป็นของปัจจุบันที่เราทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น
สำนักงานการอุดมศึกษา (2546 : 2)
นวัตกรรม มี 6 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกลการสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่(ร่วมมือกัน)
4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี เช่น สไลด์ วีดีทัศน์ วิทยุ โทรทัศน์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ต (Web - based Instruction) หรือ e- learning
5. นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล ก่อนเรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อสอบ
6. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลอำนวย เดชชัยศรี (2544 : 141) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมมี 2 ลักษณะ
1. นวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม
2. นวัตกรรมที่เป็นนามธรรมอัจฉรา
ส้มเขียวหวาน (2549) นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน เพิ่งค้นพบขึ้น
2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ผสมกับสิ่งเก่า คือการนำเอาสิ่งเก่าที่ไม่ได้รับความนิยมมาทำการปรับปรุงให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสุมิตา
บุญวาส (2546 : 78) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้นวัตกรรมเป็นการวิจัยหาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วน เทคโนโลยี คือ การนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชนืในการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีระบบอำนวย เดชชัยศรี (2544 : 141) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้นวัตกรรมเกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ๆที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ ส่วนเทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพอัจฉรา
ส้มเขียวหวาน (2006) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้ดังนี้
1. นวัตกรรมเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติ หรือการกระทำใหม่ๆจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับจนกลายเป็นแนวปฏิบัติ
2. นวัตกรรมอยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อยเพียงบางส่วนไม่แพร่หลายแต่เทคโนโลยีอยู่ในขั้นการนำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา
ที่มา : http://kohkoh789.blogspot.com/2010/02/blog-post_2979.html(22กุมภาพันธ์2553)

ความหมายของ เทคโนโลยี

เทคโนโลยี คือ
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น

เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา

การสำรวจอวกาศ
เทคโนโลยีที่เป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน
เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ

ล้อ เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณ
เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก
ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น
ที่มา : http://nhomphing2026.blogspot.com/search/label/http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5#.E0.B8.84.E0.B8.A7.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B8.AB.E0.B8.A1.E0.B8.B2.E0.B8.A2 (22กุมภาพันธ์2553)

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรม

ความหมาย และ องค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม
นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการ มาพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ หรือบริการใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาด ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์ จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ "การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม" หรือจะกล่าวง่ายๆ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์
ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จาก แนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรมเช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก และทฤษฎีที่รู้จักกันมาก ก็น่าจะเป็น Thoery of Disruptive Innovation ของ Prof. Clayton Christensen แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Diffusion of Innovation Theory ของ Prof. Everett Rogers ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี 1962
ทั้งนี้ความคิดและทฤษฎีเรื่องนวัตกรรมมีวิวัฒนาการมาอย่างน้อย 50 ปีแล้ว โดยในช่วงทศวรรษที่ 1950 บรรดานักวิชาการต่างมองว่า นวัตกรรมเป็นการพัฒนาอย่างหนึ่งที่แยกออกมาจากการศึกษาวิจัยต่างๆ แต่ในปัจจุบันนี้ นวัตกรรมไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผลลัพธ์ของการดำเนินงานของปัจเจกบุคคล หากแต่เป็นผลของกระบวนการ (process) ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหา (problem-solving process) ที่เกิดในองค์กร หรือ กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interactive process) ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้มีบทบาทสำคัญอื่นๆ มีได้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือเชิงพาณิชย์ หรือ กระบวนการเรียนรู้แบบแปรผัน (diversified learning process) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากปัจจัยแตกต่างกัน เช่น การเรียนรู้โดยการใช้ (learning by using) การเรียนรู้โดยการลงมือทำ (learning by doing) การเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยน (learning by sharing) ซึ่งมีได้ทั้งองค์ความรู้ภายในและภายนอกองค์กร ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการดูดซับความรู้ขององค์กร

เทคนิคการพัฒนานวัตกรรม
เทคนิคสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด ได้แก่ (ที่มา: คัดลอกมาจาก คิดไทยสไตล์โมเดิร์น ของ คุณดนัย เทียนพุฒ นสพ.บิซวีส)
เทคนิคแรก ซื้อเทคโนโลยีหรือแนวคิดใหม่จากองค์กรภายนอก อาจเป็นการติดต่อขอซื้อโดยตรง ในนวัตกรรมที่องค์กรนั้นคิดค้นขึ้นมาอยู่แล้ว หรือจะเป็นการติดต่อในลักษณะเอาท์ซอร์สเพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีตามลักษณะที่ต้องการ เทคนิคที่สอง การร่วมมือในรูปแบบต่างๆ กับองค์กรอื่นๆ (Partnering) เพื่อนำความรู้ ความสามารถและทรัพยากรจากองค์กรภายนอกเข้ามาใช้ในการพัฒนาร่วมกันกับบุคลากรของกิจการ เพื่อให้เกิดการผสมผสานจุดเด่นขององค์กรดังกล่าวเข้าด้วยกัน เช่น บริษัท Intel ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกาและอังกฤษ จัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อค้นคว้าและวิจัยพัฒนานวัตกรรมในสินค้าและบริการเทคนิคที่สาม การเข้าร่วมลงทุนและ/หรือเข้าซื้อกิจการ ในหน่วยงานเล็กที่มีศักยภาพสูง เพื่อนำจุดเด่นของหน่วยงานดังกล่าว เข้ามาใช้พัฒนาต่อไปในอนาคต เช่น Cisco ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้เสาะหาหน่วยงานเล็กๆ ที่มีจุดเด่นในเรื่องของความคล่องตัว และความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ เพื่อขอร่วมลงทุน หรืออาจเข้าซื้อกิจการ เพื่อนำจุดเด่นขององค์กรนั้นๆ มาต่อยอดธุรกิจโดยอัตโนมัติ รวมถึงผสมผสานจุดเด่นต่างๆ ของทั้งสองกิจการเข้าด้วยกัน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาและต้นทุนในการพัฒนาจุดเด่นดังกล่าวขึ้นเอง เทคนิคที่สี่ การจัดตั้งศูนย์กลางความรู้ (Knowledge Broker) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูล และแนวคิด (Idea) ใหม่ๆ ระหว่างกันในวงกว้าง เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เข้ามามีบทบาทในการสร้างไอเดียใหม่ๆ เช่น บริษัท Eli Lilly ได้จัดตั้งเว็บไซต์ www.innocentive.com ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และความคิดเห็นจากกลุ่มสาธารณชนทั่วโลก โดยบริษัทและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาตั้งคำถามและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ยาต่างๆ

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
ที่มา: http://learners.in.th/blog/amrawiwan09 (13 กุมภาพันธ์)

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร



โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


ความเป็นมา

เมื่อ 14 สิงหาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ณ พระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ให้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อทดลองและฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนกลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกป่าชายเลนชนิดต่างๆ ที่คลองบางกรายใหญ่และคลองบางกราน้อย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2537 และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมกับผู้กำกับการ 1 กองบังคับฝึกพิเศษ ในขณะนั้นให้ดำเนินการศึกษาและหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ชายเลนที่ปลูกไว้ให้อยู่รอดและให้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนต่อไปในพื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งสองแห่ง ที่บริเวณคลองบางกราใหญ๋ และคลองบางกราน้อยและเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541 ขณะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงจักรยานและทรงวิ่งออกกำลังพระวรกายบริเวณค่ายพระรามหกได้ทอดพระเนตรสภาพดิน และพื้นที่รกร้างที่มีคราบเกลือบนพื้นดินต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริ กับ ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะให้หาทางฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็นพื้นที่สีเขียว และมีความสวยงามตามธรรมชาติเพื่อใช้เป็นพื้นที่นันทนาการและเป็นพื้นที่สำหรับศึกษาระบบนิเวศนที่ได้ปรับตัวหลังจากมีการปรับปรุงพื้นที่แล้ว ปีพุทธศักราช 2546 เป็นปีพุทธศักราชแห่งมิ่งมงคลสมัยที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนศนูย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริและมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี ได้ร่วมกันจัดทำอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติเพื่อน้อมเกล้าถวายในศภวาระเป็นสิริมงคลยิ่งนี้ โดยมีแนวทางในการดำเนินการตามแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงานในบริเวณ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นแนวทางในการดำเนินงานในอุทยานเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ดังนั้นเมื่ออุทยานแห่งนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วจะเป็ฯสถานที่เผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชาสามารถในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศและป็นสถานที่ศึกษาความรู้ทางด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ตลอดจนเป็นสถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา และเชิงประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของประเทศไทยและของโลก ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นนาอุทยานว่า “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” และพระราชทานพระราชานุญาต ให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย “สธ” ประดับตราสัญลักษณ์ของอุทยานวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุุครบ 48 พรรษา ในปี 2546 2. เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชาสามรถของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในด้ารการอนุรักษ์์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ 3. เพื่อฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานชนิด 4. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา เชิงประวัติศาสตร์ และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 5.เพื่อพัฒนาที่ดินเสื่อมโทรมเป็ฯพื้นที่การเกษตรที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สาธิตให้ประชาชนและเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงสามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงพื้นที่การเกษตร 6. เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านการฝึกรมของกำลังพลตำรวจตระเวนชายแดน 7. เพื่อเป็นที่ศึกษาให้แก่ประชาชนในการกระตุ้น สร้างความคิด ความเข้าใจ และปลุกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศ พื้นที่ดำเนินการคือ เขตพระราชนิเวศมฤคทายวัน ในส่วนที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลครอบคลุมพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของค่ายพระรามหก และค่ายนเรศวร สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน รวมพื้นที่ประมาณ 2,600 ไร่ ในระยะแรกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้สนับสนุนให้ใช้พื้นที่ดำเนินการตามกิจกรรมของอุทยานฯ จำนวน 1,800 ไร่โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2543 ในลักษณะของโครงการต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานไว้ 4 ประการคือ 1. ฟื้นฟูและพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าบก ในพื้นที่ให้มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมและมีความหลากหลายทางชีวภาพ 2. บูรณะและอนุรักษ์หมู่อาคาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตลอดจนส่วนประกอบทางกายภาพ ในพื้นที่ให้คงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนเอกลักษณ์ในท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย 3. พัฒนาให้เป็นแหล่งสาธิต และถ่ายทอดความรู้ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและนานาชาติ 4. ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในระดับประเทศและนานาชาติ
กรอบแนวคิด
1. มุ่งดำเนินให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับแนวทางของศูนย์ศึกษาและพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2. กำหนดให้มีการค้นคว้าศึกษาวิจัยทางวิชาการในแขนงงานทุกสาขาของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. การดำเนินการในทุกวัตถุประสงค์ของโครงการจะมุ่งสู่ความเป็นสากลในระดับนานาชาติเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็ยังคงสามารถสะท้อนแนวทางตามพระราชดำริและเอกลักษณ์ตลอดจนภูมิปัญญาไทยได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืน
4.ในการนำเสนอสาระของแต่ละองค์ความรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่จะเน้นไปที่การรับรู้ได้สัมผัสได้ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความเคลื่อนไหวที่สามารถถ่ายทอดออกมาถึงจิตวิญญาณและนวคิดอย่างชัดเจนในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต
5. มู่เสนอและดำเนินการในรูปของการท่องเที่ยวและสันทนาการในทุกๆ กิจกรรมที่มีศักยภาพไดทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน


ที่มา : http://www.bpp.go.th/project/project_5.html(9กุมภาพันธ์2553)

โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ

โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ( Olea europaea L. )


ความเป็นมา
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
มะกอกโอลีฟมีถิ่นฐานเดิมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ประเทศบอลข่าน, ทะเลเดรียติค จนถึงแถบที่ราบสูงในอิหร่าน ปาเรสไตน์ จนถึงแถบชายฝั่งของซีเรีย ต่อมาได้กระจายมาถึง Chipre * ต่อไปทาง Anatolio * ผ่าน Crete* ไปถึงอียิปต์ จนกระทั่งกระจายไปบริเวณลุ่มน้ำที่ติดกับชาบฝั่งของทะเลเมอดิเตอร์เรเนียนและจากการค้นพบทวีปอเมริกา การปลูกมะกอกโอลีฟจึงได้แพร่ออกไปสู่โลกใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปลูกในแถบอเมริกใต้,จีน,ญี่ปุ่น และออสเตรเลียอีกด้วย มะกอกโอลีฟเป็นพืชอาหารที่สำคัญและมีคุณค่าชนิดหนึ่งในเขตเมดิเตอร์เรเนียนมาตั้งแต่อดีต ส่วนต่างๆของต้นมะกอกโอลีฟสามารถนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ส่วนผลซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ใช้ประกอบอาหารและ ผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งน้ำมันมะกอกโอลีฟถือว่าเป็นน้ำมันที่ทางการแพทย์แนะนำให้บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีเนื่องจากมีไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าน้ำมันที่ผลิตจากพืชอื่นๆอีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันมะกอกโอลีฟมาใช้เป็นส่วนผสมใน การผลิตสบู่และน้ำมันนวดด้วยส่วนใบมะกอกโอลีฟใช้ในการปรุงอาหารและใช้บำบัดรักษาทางการแพทย์ ในขณะที่ส่วนเนื้อไม้ของกิ่งก้านและลำต้น ใช้นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ พื้นที่ที่นิยมปลูกมะกอกโอลีฟโดยมากจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นรุ้งที่ 30 องศา ถึง 45 องศา เป็นได้ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่สภาพภูมิอากาศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่ร้อนและแห้ง

จากข้อมูลของกลุ่มผู้ที่ปลูกมะกอกโอลีฟในเชิงธุรกิจประมาณได้ว่า ปัจจุบัน มีมะกอกโอลีฟอยู่ราวๆ 820 ล้านต้น ซึ่งในจำนวนนี้ 808 ล้านต้น หรือประมาณ 99% ของทั้งหมด ปลูกอยู่ในกลุ่มลุ่มแม่น้ำบริเวณทะเลเมอดิเตอร์เรเนียน คิดเป็นพื้นที่ 8.2 ล้าน hectares ผลผลิตของมะกอกโอลีฟถ้าคิดในช่วงเวลาครึ่งปีสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 10 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้ 90 % จะนำไป สกัดน้ำมันและอีก 10 % จะนำไปทำมะกอกดอง มะกอกโอลีฟสามารถแบ่งประเภทตามการใช้ประโยชน์ดังนี้
1. เพื่อการผลิตน้ำมัน ได้แก่พันธ์ Picual ,Piccudo ,Arbequina ,Cornicabra เป็นต้น
2. เพื่อรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Manzanilla ,Gordal ,cacerena เป็นต้น
3. เพื่อผลิตน้ำมันและรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Hojiblanca ,Pico Limon เป็นต้น

* ชื่อประเทศที่เป็นเกาะอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ลักษณะทางพฤกศาสตร์

ชื่อพื้นเมือง มะกอกโอลีฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Olea europaea L. OLEACEAE
ชื่อสามัญ Olive
ลักษณะ ไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นอาจสูงถึง 20 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม กัน รูปใบหอก กว้าง 1- 1.5 ซ.ม. ยาว 5 – 6 ซ.ม. ปลายใบแหลมหรือมนแคบ มีติ่งเล็กๆ โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ย่ว 3 -4 มิลลิเมตร ผิวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้าน ล่างสีเทา ดอดช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอดฝอยมีทั้งดอดสมบูรณ์แพศและ ดอกสมบูรณืเพศ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบ ดอกมีสีขาว หรือครีม เกสรตัวผู้ 2 อัน ขนาดใหญ่ที่กลีบดอก อับเรณูสีเหลืองมีลักษณะเป็น 2 พู รังไข่มี 2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียตรงสั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียค่อนข้างใหญ่ ผลสดมีเนื้อ รูปร่างกลมรี ยาว 1 – 4 ซ.ม. กว้าง 0.6 – 2 ซ.ม. สีผลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีม่วงหรือสีดำ มีเมล็ดแข็ง ประโยชน์ เนื้อไม้ นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะสลักและเฟอร์นิเจอร์ ใบช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด, พุพอง,อาการเหงือกอักเสบ และใช้ในการห้ามเลือด ผลใช้ประกอบอาหารและทำผลิตภัณฑ์น้ำมัน ป้องกันอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกสันหลังการเจริญเติบโตในแถบเมดิเตอร์เรเนียน พ.ย. – ก.พ. เป็นระยะพักตัวระหว่างช่วงภูมิอากาศหนาว มี.ค. – เม.ย. มะกอกโอลีฟจะเริ่มแตกตาดอกและยอดใหม่ พ.ค. – มิ.ย. ตาดอกจะพัฒนาและเริ่มออกดอก ก.ค. – ส.ค. ผลมะกอกโอลีฟเจริญขึ้นภายหลังกายผสมเกสรเมล็ดที่อยู่ภายใน ผลเจริญเต็มที่ ต.ค. เนื้อของผลมะกอกโอลีฟจะเจริญสมบูรณ์เต็มที่ระยะเวลาการสุกแก่ของผลมะกอกโอลีฟจะแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธ์ ช่วงกลางเดือน ส.ค. – ต.ค. สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลมะกอกโอลีฟขอลพันธ์ที่สุกแก่ เร็วหรือพันธ์เบาและผลมะกอกโอลีฟที่ใช้เพื่อรับประทานผลเขียว ช่วงกลางเดือนพ.ย. – ก.พ. เริ่มเก็บเกี่ยงผลผลิตมะกอกโอลีฟเพื่อรับประทานผลดำหรือผลแก่และ ที่ใช้เพื่อการผลิตน้ำมันมะกอกโอลีฟ
ที่มา : http://www.bpp.go.th/project/project_6.html (9กุมภาพันธ์2553)

โครงการพัฒนาดอยตุง

โครงการพัฒนาดอยตุง ( พื้นที่ทรงงาน )อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ความเป็นมา
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมี พระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่าพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชนมาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วรัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปรพระราชฐานไปประทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดชหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้านอีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์ ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท
ในวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา มาทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์ ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า " ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วยพลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับพระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็นสภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็นสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุงแต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายามทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมาก พระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ ท่านนายกฯ ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560 นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ี่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้ 1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่ 2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่ 3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่ 4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่ 5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่ 6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่
ที่มา : http://www.bpp.go.th/project/project_18.html(9กุมภาพันธ์2553)

โครงการเขาหินซ้อน

โครงการเขาหินซ้อน
แนวคิดและหลักการอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
ในการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เป็นไปตามพระราชดำริ และบรรลุวัตถุประสงค์ ควรจะได้ดำเนินการโดยมีหลักการสำคัญ ๆ คือ
1) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
2 ) การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น และประหยัด
3 ) การพึ่งตนเอง
4 ) การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
5 ) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
6 ) การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
1 ) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
มุ่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความทุกข์ยาก เดือดร้อน ที่ราษฎรกำลังประสบ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส ถึงความจำเป็นนี้ว่า "" …..ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก ….เป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อนแต่ปวดหัว ใช้ยาแก้ปวด… หรือยาอะไรก็ตามแก้ปวดหัวมันไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้แล้วอีกอย่างก็คือ แบบ Macro นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย… อย่างบ้านคนอยู่เราบอกบ้านนี้มันผุตรงโน้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ้อม… เอาตกลงรื้อบ้านนี้ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่ ก็ต้องค้ำเสียก่อนแล้วค่อย ๆ ทำ จะไประเบิดหมดไม่ได้… ""
2 ) การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น และประหยัด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้คำว่า " ระเบิดจากข้างใน " นั่นคือทำให้ชุมชนหมู่บ้าน มีความเข้มแข็งก่อนแล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน หมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว ดังแนวพระราชดำรัสต่อไปนี้ ""… การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและ อุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หาก มุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชน โดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจจะกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยะประเทศหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้… การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ และตั้งตัวให้มีความพอกิน พอใจ ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงในต่อไป โดยแน่นอนส่วนการถือหลักที่จะ ส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์ …""
3) การพึ่งตนเอง
การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพ และสามารถ "พึ่งตนเองได้" ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งซึ่งขออัญเชิญมา ณ ที่นี้คือ "… การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่าง เหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้นในการช่วยเหลือแต่ละครั้งแต่ละกรณี จำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วยให้เข้าใจด้วยว่าเขาอยู่ ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใด อีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป…"
4) การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าควรที่จะสร้างเสริมสิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาดแคลนซึ่งก็คือความรู้ในการทำมาหากิน การทำการเกษตรโดยให้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พระองค์ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "ตัวอย่างของความสำเร็จ" มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฏรในชนบทมีโอกาสได้รู้ได้เห็นตัวอย่างของ ความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง พระองค์จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาทดลอง วิจัยและแสวงหาความรู้ เทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่ราษฎร "รับได้" นำไป "ดำเนินการเองได้" และเป็นวิธีที่ "ประหยัด" เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฏร ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศนั้นๆ
5) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
พระองค์ทรงเห็นว่าการพัฒนาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติจะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร จึงทรงมุ่งที่จะให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนา ประเทศ ในระยะยาว พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ในการทำนุบำรุงปรับปรุงสภาพของทรัพยากร ธรรมชาติต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็น การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนสู่สภาพเดิมและยังได้ส่งเสริมให้ราษฏรรู้จักการใช้ทรัพยากรที่มี อยู่อย่างจำกัดอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อประโยชน์ในระยะยาว
6) การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ช่วงแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ( ปี 2530-2534) ปรากฏว่าเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่สูงและรวดเร็ว โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มีภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก มีผลทำให้สังคมไทย เริ่มเปลี่ยน จากสังคมชนบทสู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ความเจริญส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในเมืองหลักๆ ในภูมิภาคต่างๆ และรอบกรุงเทพมหานคร ในขณะเดียวกันได้ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว
"ห้วยฮ่องไคร้ ศูนย์ศึกษาฯที่เปรียบดัง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติมีชีวิต"
"...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป..." พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ...นับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิด"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งก็มีกลุ่มคนเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่นำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติตาม สำหรับเมืองไทยนั้นหนึ่งในรูปธรรมที่เห็นเด่นชัดตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ พื้นที่อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริต่างๆ ที่สร้างคุณประโยชน์มากมายต่อพี่น้องเกษตรกรไทย
"เขาหินซ้อน โครงการพระราชดำริแห่งแรก "
ปัจจุบันนอกจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริคือหนึ่งในพื้นที่ที่อุดมประโยชน์อันสำคัญของเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนี่คือโครงการพระราชดำริเด่นๆ 5 แห่งจาก 5 ภาคทั่วประเทศที่แต่ละโครงการต่างก็มีความโดดเด่นน่าสนใจแตกต่างกันออกไป ภาคกลาง : เขาหินซ้อน แม้..."ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้" ณ เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ในอดีตพื้นที่แถบนี้เป็นป่าดงดิบ มีลักษณะเป็นภูเขาหินตามธรรมชาติก้อนใหญ่ก้อนเล็กระเกะระกะทับซ้อนกันอยู่ทั่วไป ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่า"เขาหินซ้อน" ทว่าหลังจากที่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสาย 304 พนมสารคาม-กบินทร์บุรีตัดผ่าน ผลพวงจากการระเบิดหินทำถนน รวมถึงการเปิดทางให้ผู้คนเดินทางเข้าสู่พื้นที่โดยสะดวก ทำให้ชั่วระยะเวลาเพียง 30 กว่าปี ป่าดงดิบเขาหินซ้อนได้ถูกทำลายกลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม "ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้ ที่เขาหินซ้อน"
แต่ด้วยแนวพระราชดำริ "ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้" หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ เขาหินซ้อน และได้เสด็จไปทอดพระเนตรที่ดินที่มีผู้น้อยเกล้าฯถวาย พระองค์ท่านได้พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้ง "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ"เมื่อวันที่ 8 มี.ค. พ.ศ.2522 ภายในพื้นที่ 1,895 ไร่ นับเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรกของเมืองไทย ปัจจุบันศูนย์การพัฒนาเขาหินซ้อนแห่งนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างของการพัฒนาตามแนวเกษตรยั่งยืน แบ่งพื้นที่ภายในศูนย์เพื่อทำการสาธิตและทดลองงานต่างๆ อาทิ งานเกษตรแผนใหม่ งานเลี้ยงสัตว์น้ำ งานศิลปาชีพ โครงการสวนป่าสมุนไพร การทำประมงเลี้ยงปลาสวยงาม และปลาน้ำจืดที่ใกล้สูญพันธ์ นอกจากนี้ในศูนย์ฯยังมีสวนพฤกษศาสตร์รวบรวมเอาพรรณไม้ป่า พรรณไม้หายาก พรรณไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ และสวนสมุนไพรที่มีประโยชน์จัดแสดงไว้อย่างสวยงามมากมายให้ชม ซึ่งนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวศึกษาดูงานอันน่าสนใจอีกจุดหนึ่งในเมืองแปดริ้ว

โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโต๊ะแก

โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโต๊ะแก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนากอ ม. 6 ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส
พระราชดำริ
เนื่องด้วยวันที่ 24 กันยายน 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรฝายทดน้ำคลองโต๊ะแก และทรงเยี่ยมราษฎรบ้านนากอ ตำบลจอเบาะ และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรถังเก็บน้ำที่โรงเรียนร่มเกล้าบ้านบูเก๊ะ-ปาลัส ตำบลจอเบาะ ในเขตอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทานดังต่อไปนี้บริเวณหุบเนินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากฝายทดน้ำคลองโต๊ะแกไปประมาณ 500 เมตร มีทำเลซึ่งสามารถสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กสำหรับรวบรวมเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเพาะปลูกได้ สมควรสร้างอ่างเก็บน้ำที่บริเวณดังกล่าว โดยอ่างเก็บน้ำแห่งนี้สามารถรับน้ำที่ผันมาจากฝายทดน้ำคลองโต๊ะแกลงมาเพิ่มเติมซึ่งจะสามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตหมู่บ้านนากอและหมู่บ้านใกล้เคียงได้จำนวนหลายร้อยไร กรมชลประทานได้ดำเนินการสำรวจภูมิประเทศพร้อมออกแบบเป็นอ่างเก็บน้ำและทางระบายน้ำล้นพร้อมระบบท่อส่งน้ำ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
อุปโภค-บริโภค 1 หมู่บ้าน 50 ครัวเรือน
การเกษตร 150 ไร่
การใช้ประโยชน์จากโครงการในปัจจุบัน
สามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 150 ไร่
สามารถส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค 1 หมู่บ้าน 50 ครัวเรือน
ลักษณะโครงการ
ข้อมูลอุทกวิทยา
พื้นที่รับน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำ 1 ตารางกิโลเมตร
ก่อสร้างปีงบประมาณ 2530 ใช้งบประมาณ 4,956,000 บาท
ทำนบดินยาว118 เมตร สูง 16.50 เมตร หลังคันกว้าง 6.00 เมตร ความจุ 240,000 ลูกบาศก์เมตร
ทางระบายนํ้าล้น สูง 2.85 เมตร กว้าง 5.00 เมตร ยาว 80 เมตร จำนวน 1 แห่ง
ท่อส่งนํ้าขนาด 0.10 เมตร ยาว 3,700 เมตร จำนวน 1 แห่ง
ท่อส่งนํ้าขนาด 0.30 เมตร ยาว 90.00 เมตร จำนวน 1 แห่ง
ถังกรองนํ้า-ถังเก็บนํ้า ความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 แห่ง
การบริหารจัดการน้ำ
ได้ดำเนินการประชุมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ พร้อมชี้แจงยกตัวอย่างกฎระเบียบการใช้น้ำแล้ว จัดตั้งเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2530
ข้อมูลการเสด็จพระราชดำเนิน
วันที่ 24 กันยายน 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรฝายทดน้ำคลองโต๊ะแก และทรงเยี่ยมราษฎรบ้านนากอ ตำบลจอเบาะ และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรถังเก็บน้ำที่โรงเรียนร่มเกล้าบ้านบูเก๊ะ-ปาลัส ตำบลจอเบาะ ในเขตอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโต๊ะแก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนากอ หมู่ที่ 6 ตําบลจอเบาะ อําเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

ที่มา : http://www.rid.go.th/royalproject/index.php?option=com_content&view=article&id=532:----6---&catid=67:2009-05-04-07-30-15&Itemid=9(9กุมภาพันธ์2553)

โครงการธนาคารข้าว

โครงการธนาคารข้าว
ความเป็นมา เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัด ประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตการณ์เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติเป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร
เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี
เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจนและขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค
เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของระบบสหกรณ์ซึ่งจะได้ดำเนินการที่สมควรต่อไป
เพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยของราษฎรผู้ประสบภัยให้รู้จักอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ราษฎรมีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ
เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่
เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้รู้จักประหยัดทรัพย์ หลักการตั้งโครงการธนาคารข้าว
จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอหรือทราบว่าราษฎรขาดแคลนเพื่อบริโภคและไม่สามารถดำเนินการจัดหาข้าว เพื่อบริโภคในหมู่บ้านได้เพียงพอ
ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวของหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่
พิจารณาพื้นที่ที่จัดตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อหมู่บ้านบริวาร
ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัยในการควบคุมและติดตามผล
ไม่เป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้าย ปัจจุบันกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33มีธนาคารข้าวในความรับผิดชอบ จำนวน 20 แห่ง โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 2514 ณ บ้านห้วยหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ การดำเนินการได้ติดตามผลการปฏิบัติทุกรอบเดือน ราษฎรได้กู้ยืมข้าว โดยมีคณะกรรมการในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการการดำเนินการที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ที่มา : http://www.bpp.go.th/project/project_1.html( 9กุมภาพันธ์ 2553)

โครงการแก้มลิง

โครงการแก้มลิง
"...เมื่ออายุ ๕ ขวบ มีลิงเอากล้วยไปให้มันเคี้ยว เคี้ยว แล้วใส่ในแก้มลิง ตกลง “โครงการแก้มลิง” นี้มีที่เกิด เมื่อเราอายุ ๕ ขวบ ก็นี่เป็นเวลา ๖๓ ปี มาแล้ว ลิงสมัยโน้นลิงโบราณเขาก็มีแก้มลิงแล้ว เขาเคี้ยว แล้วเอาเข้าไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ “โครงการแก้มลิง” เพื่อที่จะเอาน้ำนี้ไปเก็บไว้...” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘

โครงการแก้มลิงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยการขุดลอกคลองชายฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นคลองพักน้ำขนาดใหญ่หรือ “แก้มลิง” แล้วระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก หรือน้ำขึ้นน้ำลงตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันโครงการแก้มลิงยังได้ขยายการดำเนินงานไปที่โครงการบรรเทาอุทกภัยตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) จังหวัดชุมพร และโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอีกด้วย
ที่มา :http://www.rid.go.th/royalproject/(9กุมภาพันธ์2553)

โครงการเศรษฐกิจแบบพอเพียง

เศรษฐกิจแบบพอเพียง
ความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัย
ในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ" พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู๋ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ ์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริม สร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้ " .... ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้นจะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรงด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทําการเกษตรได้ และค้าขายได้.... " ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทําให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดําริของ " เศรษฐกิจพอเพียง " ซึ่งบได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพายึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงําความคติดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกินขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น " เศรษฐกิจพอเพียง " จึงได้สื่อความหมาย ความสําคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขายสะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มี่อยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง
ทําให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจําเป็นที่ทําได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนําไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือวิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ " จิตวิญญาณ "คือ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลําดับความสําคัญของ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จํากัดซึ่งไร้ขอบเขตถ้าไม่สามรถควบคุมได้การใช้ทรพัยากรอย่างทําลายล้างจะรวดเร็วและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข( Maximizationof Satisfaction ) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกําไร ( Our loss is our gain ) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จํากัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง" คุณค่า " จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทําลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น " ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด " และขจัดความสําคัญของ " เงิน " ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกําหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ ( Demonstration Effects ) จะไม่ทําให้เกิดการสูญเสียจะทําให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน ( Over Consumption ) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน
แม้จะไม่รํ่ารวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทําให้รํ่ารวยมากขึ้นในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทําให้เกิดความเข้มแข็งและความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สําคัญคือการบริโภคนั้นจะทําให้เกิดความรู้ที่จะอยุ่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทํา เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสําหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า" มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ " บุคคล " กับ " ระบบ " และปรับความต้องการที่ไม่จํากัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกําไร และอาศัยความร่วมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สําคัญของระบบสังคม การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนําเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดําริในเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคําพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ว่า " ....ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร " ในการผลิตนั้นจะต้องทําด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทําโครงการแต่ไม่ได้คํานึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสําคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสําหรับใช้ในโรงงานนั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนํามาจากระยะไกล หรือนําเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นําเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะตํ่าลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทําให้ราคาตกหรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทําให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาดขายได้ในราคาที่ลดลงทําให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจําวันของครอบตรัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจําวันและเพื่อจําหน่าย
2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่นเพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด “ การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”“ เศรษฐกิจพอเพียง” จะสำเร็จได้ด้วย “ ความพอดีของตน”
ที่มา : http://www.bpp.go.th/project/project_19.html(9กุมภาพันธ์2553)

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ความหมายของนวัตกรรม

"นวัตกรรม" คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม"นวัตกรรม" จึงถือเป็นกุญแจหลักที่จะผลักดันให้หน่วยเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันไปสู่ระดับสากลได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ความสามารถของประเทศในการสร้าง "แรงขับเคลื่อนนวัตกรรม" จึงเป็นปัจจัยชี้ขาดอัตราการเจริญเติบโตและการปรับฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยความหมายของนวัตกรรม
“ นวัตกรรม ” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น(Innovation)หรือเป็นการปรุงแต่ง ของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ(Development)มีการทดลองในแหล่งทดลอง
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์ ผู้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐาน และมีความคิดสร้างสรรค์